การต่อวงจรความต้านทาน
การต่อตัวต้านทานเพื่อใช้กำหนดค่าความต้าน ทานตามที่ทำการออกแบบไว้นั้น สามารถกระทำได้ โดยการนำเอาตัวต้านทานมาต่อกันเป็นวงจรตัวต้านทาน ซึ่งมีอยู่ 3 แบบคือ
- วงจรตัวต้านทานแบบอนุกรม ( Series Resistor Circuit )
- วงจรตัวต้านทานแบบขนาน( Parallel Resistor Circuit )
- วงจรตัวต้านทานแบบผสม ( Compound Resistor Circuit )
วงจรตัวต้านทานแบบอนุกรม เป็นการต่อตัวแบบปลายต่อปลาย เรียงแถวกันไปจนครบทุกตัว แล้วนำปลายขาของตัวต้านทานที่เหลือนำไปใช้งาน ซึ่งมีลักษณะของวงจรอนุกรมดังรูป
รูปที่ 1 การต่อวงจรความต้านทานแบบอนุกรม
ความต้านทานรวม (RT) | = R1 + R2 + R3 + ............Rn |
E | = V1 + V2 + V3 + Vn |
การต่อวงจรตัวต้านทานแบบ อนุกรมนี้ จะมีค่าของความต้านทานเพิ่มมากขึ้นเท่ากับผลรวมของค่าความต้านทานแต่ละตัวใน วงจร แต่อัตราทนทดกำลังไฟฟ้ารวมของวงจรจะมีค่าเท่ากับอัตราทนกำลังงานไฟฟ้าของตัว ต้านทานที่มีค่าต่ำสุดในวงจรอนุกรมนี้ และกระแสผ่านความต้านทานทุกตัวมีค่าเท่ากัน
วงจรตัวต้านทานแบบขนาน เป็นลักษณะของการต่อวงจรโดยการนำเอาปลายขาข้างหนึ่งของตัวต้านทานแต่ละตัวมา ต่อรวมกัน แล้วต่อปลายขาข้างที่เหลือรวมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยที่ปลายขาที่จับมาต่อรวมกันทั้งสองข้างจะเป็นปลายขาที่นำไปต่อใช้งาน ลักษณะนี้แสดงได้ดังรูป
แรงดันไฟฟ้า E | = V1 = V2 = V3 = ............Vn |
I | = I1 +I2 +I3 + In |
รูปที่ 2 การต่อวงจรความต้านทานแบบขนาน
การต่อตัวต้านทานแบบผสม(Series–Parallel Resistor Circuit)
จะเป็นการต่อวงจรในลักษณะของวงจรแบบอนุกรมและขนานร่วมกัน ในการวิเคราะห์เพื่อคำนวณหาค่าความต้านทานและอัตราทนกำลังงานไฟฟ้าของวงจรจะต้องพิจารณาในแต่ละส่วน คือแยกคำนวณว่าเป็นวงจรอนุกรมและขนาน แล้วจึงหาค่าความต้านทานรวม
รูปที่ 3การต่อวงจรความต้านทานแบบผสม