กฎกระแสและแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์
บางที่เราเรียกตัวย่อว่า “KCL (Kirchoff current law)” กฎนี้กล่าวว่า “ ณ จุดใดๆ ในวงจรไฟฟ้า ผลรวมของกระแสทางพีชคณิตมีค่าเท่ากับ ศูนย์ หรือ ผลรวมของกระแสไฟฟ้าไหลเข้าจุดๆหนึ่ง มีค่าเท่ากับผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากจุดๆนั้น “ จากกฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์ เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
ผลรวมของกระแสไฟฟ้าไหลเข้า = ผลรวมของกระแสไฟฟ้าไหลออก
จากรูปกระแสไหลเข้าคือ I1 , I3 และ I4 และ กระแสไหลออกคือ I2 และ I5
กำหนดให้กระแสไหลเข้ามีค่าเป็น บวก (+) กระแสไหลออกมีค่าเป็น ลบ (-) สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
หรือ I1 + I3 + I4 = I2 + I5
หรือ I1 + (-I2) + I3 + I4 + (-I5) = 0
หรือ ΣI = I1 - I2 + I3 + I4 - I5 = 0
ตัวอย่าง จากรูปด้านล่างถ้า I1=2A ,I2=3A , I3=3A และ I4 = 6A จงคำนวณหาค่า I5
วิธีทำ
จากกฎกระแสของเคอชอฟฟ์(KCL) I1 + I3 + I4 = I2 + I 5
แทนค่ากระแส 2 + 3 + 6 | = 3 + I5 |
ดังนั้น I5 | = 2 + 3 + 6 - 3 |
I5 | = 8A |
* โนด (Node) จุดต่างๆในวงจรไฟฟ้าที่มีสาขาของวงจรมาต่ออยู่ตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป
กฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์ (kVL) ตัวอย่างการคำนวณ ให้ดาวน์โหลดไฟล์ด้านล่างครับ
![]() |
ศึกษาตัวอย่างเพิ่มเติม ดาวน์โหลดไฟล์ .Pdf |